ตั้งแต่มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกมานั้นผักเป็นที่ชื่นชอบ   เนื่องจากมีวิตามินและแร่ธาตุมากมายอย่างไรก็ดีในฤดูหนาวเมื่อการเพาะปลูก   ไม่เอื้ออำนวยจึงได้นำไปสู่การพัฒนาการการถนอมอาหารโดยวิธีการหมักดอง   กิมจิซึ่งเป็นผักดองชนิดหนึ่งจึงถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 7

แรกทีเดียว กิมจิเป็นผักดองเค็มดีๆนี่เอง แต่ในระหว่างศตวรรษที่ 12      ได้มีการทำกิมจิในรูปแบบใหม่ที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสและในศตวรรษที่ 18      พริกเผ็ดป่นก็ได้มาเป็นส่วนผสมที่สำคัญของกิมจิในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องขอขอบคุณ      การนำเอากะหล่ำปลีเข้ามาในศตวรรษที่ 19 มาทำเป็นกิมจิซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันนี้
 ขอบคุณข้อมูลจาก krukad.com

พิพิธภัณธ์พื้นบ้านแห่งชาติเกาหลี (National Folk Museum of Korea)

หลังจากเดินเที่ยววังใหญ่ที่ พระราชวังเคียงบ๊ก (Gyeongbokgung Palace) แล้ว เดินมาใกล้ๆ บริเวณเดียวกัน จะมาเจอกับ พิพิธภัณธ์พื้นบ้านแห่งชาติเกาหลี (National Folk Museum of Korea)




เครื่องแต่งกายประจำชาติของเกาหลี


ชาวเกาหลีมีชุดประจำชาติตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกว่า ฮันบก (ฮันหมายถึงชาวเกาหลี บกหมายถึงชุด รวมกันหมายถึงชุดของชาวเกาหลี) ฮันบกทั้งของผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะหลวมๆเพื่อความสะดวกสบายและคล่องแคล่วไม่ใช้กระดุมหรือขอแต่จะใช้ผ้าผูก ไว้แทน ชุดของผู้ชาย ข้างล่างประกอบด้วย "ปันซือ" แต่สมัยใหม่เรียกว่า "แพนที" ซึ่งหมายถึงกางเกงใน ชั้นนอกสวม "บาจี" เป็นกางเกงขายาวหลวมๆรวบปลายขาไว้ด้วย "แทมิน" เป็นแถบผ้าใช้มัดขากางเกง"บันโซเม" เป็นเสื้อรัดรูปแขนสั้นไว้ข้างใน เสื้อนอกเรียกว่า "จอโกลี" เป็นเสื้อแขนยาวไม่มีปกไม่มีกระเป๋า
ชุดของผู้หญิง ประกอบด้วย "แพนที" หรือกระโปงที่อยู่ข้างใน ข้างบนใช้ "ซ็อกชีมา" เป็นแถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกไว้แทนเสื้อยกทรง ข้างนอกสวม "ชีมา" เป็นกระโปรงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ "จอโกรี" เป็นเสื้อนอกแขนยาว ฮันบกเป็นภาพรวมศิลปะของเกาหลีที่สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนนของเกาหลี ราวกับถนน สายแฟชั่นของปารีส ฮันบกชุดแต่งกายประจำชาติของเกาหลีทำจากผ้าสีสัน สดใส เนื้อผ้าจะขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของผู้ใส่ เด็กหญิงหรือหญิงสาวจะสวมกระโปรง สีแดงเสื้อสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นกระโปรงสีแดง เสื้อสีเขียวเมื่อแต่งงานแล้วส่วน หญิงสูงอายุอาจเลือกสีสันต่างๆที่สดใส และเลือกใช้เนื้อผ้าได้หลากหลาย
ปัจจุบันชุดแต่งกายวัฒนธรรมเดิมจะใช้เฉพาะโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่ตามถนนหนทาง และรถไฟใต้ดินจะยังคงเห็นผู้คนสวมใส่กันอยู่บ้าง โดยเฉพาะผู้สูงอายุยังคงสวมใส่ชุดฮันบกกันอยู่